กรดไขมันโอเมก้า-3 กับการต่อต้านการอักเสบ

กรดไขมันโอเมก้า-3 กับการต่อต้านการอักเสบ

-กรดไขมันโอเมก้า-3 สามารถสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการต้านการอักเสบในร่างกายได้อย่างธรรมชาติ น้ำมันปลาที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะปลาแซลมอนจะให้ปริมาณของ eicosapentaenoic acis (EPA) and docosahexaenoic (DHA) สูง ซึ่งกรดไขมันทั้งสองชนิดนี้มีความจำเป็นต่อสุขภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EPA มีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการอักเสบของร่างกาย

-ประโยชน์ที่ได้รับจากน้ำมันปลา กล่าวคือ ในกระบวนการเปลี่ยนแปลง alpha-linolenic acid ไปเป็น EPA และ DHA ในร่างกาย ต้องอาศัยการเมตาบอไลต์หลายขั้นตอน แต่การทานน้ำมันปลาจะสามารถข้ามขั้นตอนการเมตาบอไลต์ต่างๆ ได้ กลุ่มโดรคเกี่ยวกับการอักเสบของข้อและกระดูก (Rheumatoid Aerthritis and Osteoarthritis) เป็นตัวอย่างที่ดีมากเกี่ยวกับการได้รับประโยชน์จากน้ำมันปลา การศึกษษหลายๆรายงานระบุว่า การได้รับอาหารที่ประกอบด้วยปลา หรือน้ำมันปลา จะช่วยปรับสมดุลของกรดไขมันในเนื้อเยื่อต่างได้ดีขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของสารต่อต้านการอักเสบ และช่วยลดระดับของสารตั้งต้นการอักเสบได้

-รายงานการศึกษามากกว่า 2,000 งานที่เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า-3 ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ กล่าวไว้ว่าการให้อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 ใบปริมาณสูงจะช่วยลดระดับของสารตั้งต้นของการอักเสบได้ อันได้แก่ Thromboxane (B2), Prostaglandin (E2), Interleukin-1 และ C-Reactive Protein กล่าวให้เข้าใจโดยง่ายว่า น้ำมันปลาจะช่วยทำให้ไม่เกิดการอักเสษนั้นเอง การศึกษษเกี่ยวกับการต่อต้านการอักเสบของน้ำมันปลา ได้ทำการศ฿กษษกับผู้ป่วยโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ชายหญิงจำนวน 64 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับน้ำมันปลาเป็นประจำทุกวัน และผู้ที่ได้รับเพียงแคปซูลเปล่า พบว่า 3 เดือนผ่านไป ผู้ได้รับน้ำมันปลาจะมีความเจ็บปวดลดลง และสามารถลดขนาดของยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAID) ในตอนสุดท้ายพบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่ได้รับน้ำมันปลา สามารถลดหรืองดยา NSAID ได้ ทำให้ช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยากลุ่มนี้ลงไปได้มาก

-น้ำมันปลาช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนได้ ดร.บรู๊ซ แคเทอสัน (Bruce Caterson ,Ph.D) หัวหน้าหน่อยชีวโมเลกุลจากมหาวิทยาลัย Cardiff เมืองเวลส์ เป็นผู้ค้นพบว่าเพราะเหตุใดน้ำมันปลาจึงช่วยลดอาการอักเสบและยับยั้งการทำลายกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโรคข้อกระดูกอักเสบ ดร.อคเทอสัน ได้อธิบายว่า “เซลล์คอนโดรไซท์ (Chondrocytes) ซึ่งเป็นเซลล์ที่รวมตัวกันเป็นกระดูกอ่อนมีความสามารถในการดูดซับกรดไขมันโอเมก้า-3ชนิด Alpha-Linolenic Acis และเข้าแทนที่กรดไขมันตัวอื่นๆได้ ในทำนองเดียวกับการเลี้ยงเซลล์คอนโดรไซท์ด้วย EPA และ DHA กรดไขมันโอเมก้า-3 ทั้งสองชนิดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ “Aggrecanased” ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในการสลายกระดูกอ่อน กรดไขมันโอเมก้า-3 ยังสามารถหยุดกระบวนการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้ ได้แก่ Interlrukin-1 (IL-1), Tumor Necrosis Factor Alpha (TNFa), และ Cyclooxygenase-2 (Cox-2)

-Eicosapentaenoic Acid (EPA) ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก เป็นสารตั้งต้นแบบแข่งขันของเอนไซน์ Cyclooxygenase และ 5- and 15- lipoxygenase เมตาบอลิซึมของ EPA โดยเอนไซม์ lipoxygenase ทำให้เกิดสาร leukotriene B5 และ 15-hydroxyeivosapentaenoic acid ซึ่งสามารถยับยั้งการเกิดสาร leukotriene B4 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกระบวนการอักเสบ การได้รับอาหารทาี่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 จะช่วยลดปฎิกิริยาของภาวะภูมิแพ้ชนิดอาศัยเวลา ช่วยลดปริมาณ prostaglandin E2 ที่จะเกิดขึ้น และช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ หลังการฉีดวัคซีนในสุนัขพันธุ์บีเกิลที่มีอายุ อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ไม่มีผลข้างเคียงระยะยาวต่อสุนัขที่กำลังรักษาบาดแผล

-ปริมาณของ EPA ที่แนะนำให้ได้รับต่อวันคือ 180 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 10 ปอนด์ (40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโล) สำหรับการอักเสบเรื้อรัง ได้แก่ อาการคัน, การแพ้, ข้ออักเสบ, โรคที่เกี่ยวกับหัวใจ, โรคไต, กระเพาะปัสสาวะ, ตับอ่อน, โรคมะเร็ง รวมไปถึงความผิดปกติทางพฤติกรรมต่างๆ โดยขนาดที่แนะนำนี้ได้ผ่านการพิสูจน์ทางคลินิคมาแล้ว สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะในการใช้เพื่อรักษษ หรือ บรรเทาภาวะโรคต่างๆ ดังกล่าวไปข้างต้น คือ EicosaDerm ซึ่งปริมาณการกดหนึ่งครั้งประกอบด้วย ปริมาณ EPA และ DHA เท่ากับ 360 มิลลิกรัม และ 240  มิลลิกรัมตามลำดับ สำหรับสัตว์เลี้ยงน้ำหนัก 20 ปอนด์ (9 กิโล)

 

Cr.Photo

Cr. Dermapet on Dermapet News, September 2003 and February 2004, Jack Challem, I Love Pet Clinic by I Love Pet Co., Ltd.

 

#กรดไขมันโอเมก้า-3 กับการต่อต้านการอักเสบ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *